เมนู

[

สาหัตถิกปัญจกะ มีอวหาร 6 อย่าง

]
สาหัตถิกปัญจกะ เป็นไฉน ? คือ สาหัสถิกปัญจกะ มีอวหาร 5 อย่าง
ดังนี้ คือ สาหัตถิกะ ถือเอาด้วยมือของตนเอง 1 อาณัตติกะสั่งบังคับ 1
นิสสัคคิยะ ซัดขว้างสิ่งของไป 1 อัตถสาธกะ ยังอรรถให้สำเร็จ 1 ธุรนิกเขปะ
เจ้าของทอดธุระ 1.
บรรดาอวหาร 5 อย่างนั้น ที่ชื่อว่า สาหัตถิกะ ได้แก่ ภิกษุลักสิ่งของ
ของผู้อื่น ด้วยมือของตนเอง. ที่ชื่อว่า อาณัตติกะ ได้แก่ ภิกษุสั่งบังคับผู้อื่น
ว่า จงลักสิ่งของของคนชื่อโน้น. ชื่อว่า นิสสัคคิยะ ย่อมได้การประกอบบทนี้ว่า
พึงให้ล่วงเลยเขตกำหนดหมาย รวมกับคำนี้ว่า ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี
โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี ต้องอาบัติปาราชิก* ดังนี้. ที่ชื่อว่า อัตถสาธกะ
ได้แก่ ภิกษุสั่งบังคับว่า ท่านอาจลักสิ่งของชื่อโน้นมาได้ ในเวลาใด, จงลัก
มาในเวลานั้น. บรรดาภิกษุผู้สั่งบังคับและภิกษุผู้ลัก ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ไม่มี
อันตรายในระหว่าง ลักของนั้นมาได้, ภิกษุผู้สั่งบังคับ ย่อมเป็นปาราชิกใน
ขณะที่สั่งนั่นเอง ส่วนภิกษุผู้ลัก เป็นปาราชิกในเวลาลักได้แล้ว นี้ชื่อว่า
อัตถสาธกะ. ส่วนธุรนิกเขปะ พึงทราบด้วยอำนาจทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ฉะนั้นแล.
คำอธิบายมานี้ ชื่อว่า สาหัตถิกปัญจกะ.

[

บุพประโยคปัญจกะ มีอวหาร 5 อย่าง

]
บุพประโยคปัญจกะ เป็นไฉน ? คือ บุพประโยคปัญจกะ มีอวหาร
แม้อื่นอีก 5 อย่าง ดังนี้ คือ บุพประโยค ประกอบในเบื้องต้น 1 สหประโยค
ประกอบพร้อมกัน 1 สังวิธาวหาร การชักชวนไปลัก 1 สังเกตกรรม การ
นัดหมายกัน 1 นิมิตตกรรม การทำนิมิต 1. บรรดาอวหารทั้ง 5 เหล่านั้น
//* วิ. มหา. 1/96.

บุพประโยค พึงทราบด้วยอำนาจสั่งบังคับ. สหประโยค พึงทราบด้วยอำนาจ
การให้เคลื่อนจากฐาน. ส่วนอวหารทั้ง 3 นอกนี้ พึงทราบโดยนัยที่มาแล้ว
ในพระบาลีนั่นแล. คำอธิบายมานี้ ชื่อว่า บุพประโยคปัญจกะ.

[

เถยยาวหารปัญจกะ มีอวหาร 5 อย่าง

]
เถยยาวหารปัญจกะ เป็นไฉน ? คือ เถยยาวหารปัญจกะ มีอวหาร
แม้อื่นอีก 5 อย่าง ดังนี้ คือ เถยยาวหาร ลักด้วยความเป็นขโมย 1 ปสัยหา-
วหาร ลักด้วยความกดขี่ 1 ปริกัปปาวหาร ลักตามความกำหนดไว้ 1 ปฏิจ-
ฉันนาวหาร ลักด้วยอิริยาปกปิด 1 กุสาวหาร ลักด้วยการสับเปลี่ยนสลาก 1.
อวหารทั้ง 5 เหล่านั้น ข้าพเจ้าจักพรรณนาในเรื่องการสับเปลี่ยนสลาก เรื่อง
หนึ่ง (ข้างหน้า) ว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อจีวรของสงฆ์ อันภิกษุจีวรภาชกะ
แจกอยู่ มีไถยจิตสับเปลี่ยนสลาก แล้วรับเอาจีวรไป* ดังนี้. คำที่อธิบายมานี้
ชื่อว่า เถยยาวหารปัญจกะ. พึงประมวลปัญจกะทั้งหลายเหล่านี้ แล้วทราบ
อวหาร 25 ประการเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
ก็แล พระวินัยธรผู้ฉลาดในปัญจกะ 5 เหล่านี้ ไม่พึงด่วนวินิจฉัย
อธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว พึงตรวจดูฐานะ 5 ประการ ซึ่งพระโบราณาจารย์
ทั้งหลายมุ่งหมายกล่าวไว้ว่า
พระวินัยธรผู้ฉลาด พึงสอบสวนฐานะ
5 ประการ คือ วัตถุ กาละ เทสะ ราคา
และการใช้สอยเป็นที่ 5 แล้วพึงทรงอรรถ-
คดีไว้
ดังนี้.
//* วิ. มหา. 1/109